การใช้เวลาว่างอ่านหนังสือเรียนยังไงก็ถือเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งเรามักจะเลือกอ่านในสถานที่เงียบสงบ แต่บางจังหวะมันก็อาจจะไม่เป็นอย่างนั้น ยกตัวอย่างเช่น เวลาพักกลางวันที่โรงเรียน รอบๆ ตัวเราจะมีแต่เสียงดัง เช่นเดียวกับห้องเรียนในเวลาพักระหว่างคาบที่วุ่นวาย รวมถึงเวลาเดินทางก็มักมีเสียงรบกวนจากคนรอบข้าง ฉะนั้นในสภาพแวดล้อมที่ทำให้เราตั้งสมาธิได้ยาก ก็ให้เราเลือกอ่านสรุปเนื้อหาที่อ่านง่ายๆ แทน ว่าแต่จะเลือกอ่านอะไรดี ในหนังสือ ‘ใช้เวลาว่าง 10 นาที ช่วยให้คะแนนดีเหลือเชื่อ’ ได้แนะนำเอาไว้ดังนี้
1. ฟังหรือท่องจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ
ควรจะฟังหรือท่องจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษมากกว่าอ่านไวยากรณ์หรือบทความภาษาอังกฤษ ฟังประโยคภาษาอังกฤษง่ายๆ จากเว็บไซต์ที่สอนภาษาอังกฤษ โดยสามารถดาวน์โหลดเก็บไว้ แล้วเปิดฟังในเวลาว่าง
2. แก้โจทย์เลข, แก้โจทย์ที่ผิด, ตรวจคำตอบที่ผิด
เลือกข้อง่ายๆ เพราะโจทย์เลขยากๆ หรือโจทย์ที่ต้องแสดงวิธีทำนั้นควรทำในเวลาอ่านหนังสือเรียนปกติ โดยเราสามารถใช้เวลาว่างตรวจคำตอบที่ทำเอาไว้แล้ว และแก้โจทย์ข้อที่ทำผิดอีกครั้ง แล้วนำคำตอบที่ผิดมาตรวจและแก้ใหม่
3. อ่านหนังสือ
ถ้าไม่มีเวลาหลักๆ ในการอ่านหนังสือ ใช้เวลาว่างอ่านหนังสือดูสิ เพียงแค่ใช้เวลาว่างวันละ 20-40 นาที ก็สามารถอ่านหนังสือที่ไม่หนามากได้เดือนละ 3-4 เล่ม หรือจะอ่านหนังสือที่ชอบพร้อมกัน 2-3 เล่มก็ได้นะเออ
4. อ่านเตรียมบทเรียนล่วงหน้า
เพียงแค่อ่านให้รู้ว่า “จะเรียนเรื่องอะไร” เท่านี้ก็จะช่วยให้มีสมาธิกับการเรียนในคาบเรียนมากขึ้น ครูจะอธิบายวิธีอ่านเตรียมบทเรียนล่วงหน้าในเวลาว่างอย่างละเอียดอีกครั้ง
5. ทบทวนบทเรียนทันที
การอ่านทบทวนบ่อยๆ จะช่วยให้จำได้นาน ไม่ว่าจะเป็นเวลาพักหรือหลังกินข้าวกลางวัน อ่านทบทวนเนื้อหาสำคัญที่ขีดเส้นใต้เอาไว้ในเวลาเรียนอีกครั้ง จะช่วยประหยัดเวลาในการอ่านทบทวนหลังเลิกเรียนอีกด้วย
6. ทำการบ้านโรงเรียนกวดวิชา
ไม่ควรทำการบ้านของโรงเรียนกวดวิชาในเวลาอ่านหนังสือเรียนหลัก แต่ควรแบ่งการบ้านของโรงเรียนกวดวิชาทำในช่วงเวลาว่าง
7. เขียนบันทึกประจำวัน
บันทึกประจำวันไม่จำเป็นตอนเขียนตอนกลางคืน การเขียนบันทึกประจำวันช่วยให้ทบทวนการจัดการเวลา ได้ไอเดียใหม่ๆ และยังช่วยคลายความเครียดความกังวลได้อีกด้วย การเขียนบันทึกประจำวันจึงนับเป็นเรื่องสำคัญ
8. จำตัวจีน เกาหลี หรือญี่ปุ่น
คงไม่ใช่เรื่องแปลกถ้าครูจะเน้นความสำคัญของตัวอักษรต่างประเทศ ใช้เวลาว่างจำตัวจีนครั้งละตัวหรือสองตัวจากในหนังสือเรียนภาษานั้นๆ หรือในหนังสือฝึกเขียนตัวอักษรเป็นประจำ หรือจะจำทีละ 1-2 ประโยคก็ได้
9. อ่านสรุปเนื้อหาที่จดเอาไว้
วิชาสังคม วิทยาศาสตร์ และประวัติศาสตร์มักจะมีคำเฉพาะที่ไม่คุ้นเคย การอ่านสรุปคำเฉพาะช่วยได้ การอ่านสรุปเนื้อหาในเวลาว่างจะช่วยให้คุ้นเคยกับคำเฉพาะ ดังนั้นจะต้องจดสรุปเนื้อหาเอาไว้ก่อนเพื่อใช้อ่านในเวลาว่าง
10. เขียน Planner, ประเมินผล
ใช้เวลาว่างวางแผนงานในแต่ละวันหรือวางแผนงานวันหยุดสุดสัปดาห์ แล้วประเมินผลในแต่ละวัน และประเมินผลงานของวันหยุดสุดสัปดาห์ด้วย
11. เล่นกีฬา, ฝึกซ้อมดนตรี, จ็อกกิ้ง, เล่นรูบิค ฯลฯ
การพักสมองสักครู่เป็นวิธีที่ดี เวลาพักไม่ควรนั่งเฉยๆ หรือนอน ควรออกกำลังกายเบาๆ หรือทำกายบริหารแทน เพื่อยืดกล้ามเนื้อ ก็สามารถช่วยให้สมองสดชื่น ส่งผลดีต่อการเรียนได้นะ
12. เขียนคำคมหรือข้อความเตือนใจเกี่ยวกับการเรียน
ท่องและจดคำคม หรือคำเตือนเกี่ยวกับการเรียนเอาไว้สัก 3-4 ประโยค จะจดใส่โพสต์อิตแล้วติดที่หนังสือเรียนหรือสมุดก็ได้ แน่นอนว่าข้อความเหล่านั้นจะช่วยกระตุ้นให้เราตั้งใจเรียนได้มากขึ้นเลยล่ะ เช่น “อย่าลืมทบทวนสมุดจดของวิชาที่เรียนในวันนี้” หรือ “สู้ๆ นะ กัมบัตเตะ!”
สามารถคลิกซื้อหนังสือ เทคนิคจำแม่นที่ใช้ได้ผล แม้แต่กับคนขี้ลืม
สามารถหาคลิกหนังสือ ใช้เวลาว่าง 10 นาที ช่วยให้คะแนนดีเหลือเชื่อ
สามารถหาคลิกหนังสือ ความสำเร็จอยู่ไม่ไกลแค่ใช้เวลาให้เป็น